เรือนประยุกต์หลังใหญ่ เป็นรูปแบบเรือนที่มีการประยุกต์ทั้งด้านโครงสร้าง และวัสดุแต่ยังคงรักษารูปแบบและภาพลักษณ์ของเรือน อีสานแบบดั้งเดิม การใช้พื้นที่ภายในประกอบด้วย ห้องปะชุม(45ที่) คลังและห้องปฏิบัติการคลินิกพิพิธภัณฑ์ คลังเอกสาร จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และสำนักงาน โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
|
เรือนประยุกต์หลังเล็ก เป็นเรือนประยุกต์ขนาดเล็ก ชั้นบนเป็นพื้นที่จัดแสดง นิทรรศการ ” เรื่องเล่าของเรา เล่าเรื่องมหาวิทยาลัย : Our story Our University” ชั้นล่างเป็นพื้นที่สำหรับ จัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียน |
|
เรือนโข่ง เรือนโข่ง เป็นเรือนหลังเล็กที่มีโครงสร้างเฉพาะ แต่สร้างติดกับชานของเรือนใหญ่ (เรือนนอน) ไว้เมื่อ ต้องการแยกเรือนก็สามารถรื้อถอนไปสร้างเป็นเรือน หลังใหม่ได้โดยไม่กระทบต่อโครงสร้างของเรือนใหญ่ เรือนโข่งเป็นที่จัดแสดงนิทรรศการ “ดนตรีอีสาน” และเป็นที่ตั้งของชมรมนาฏศิลป์ และดนตรีพื้นเมือง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
|
|
เรือนเกย เป็นรูปแบบเรือนในวิถีชีวิตของชาวอีสานที่มี การต่อเกย (ชาน) ออกมาจากเรือนใหญ่ (เรือนนอน) เพื่อใช้ประโยชน์ทั้งเป็นเรือนไฟ (ครัว) สถานที่พักผ่อน รับประทานอาหาร ต้อนรับแขก และประกอบพิธีหรือ กิจกรรมในวิถีชีวิตของชาวอีสาน ด้านล่างของเรือน ใช้เป็นสถานที่เก็บวัสดุหรือเครื่องมือเครื่องใช้ในการ ดำเนินชีวิต บางครั้งอาจใช้เป็นคอกสัตว์เลี้ยง เช่น ไก่ วัว ควาย เรือนเกยเป็นที่จัดแสดงนิทรรศการ “เอกสาร ใบลาน”ของโครงการอนุรักษ์ใบลานในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ |
เรือนตูบต่อเล้า (ยุ้งข้าว) เล้าข้าว (ยุ้งข้าว) เป็นสถานที่เก็บข้าวเปลือก และผลผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเป็นที่เก็บเครื่องมือ เครื่องใช้ในวิถีชีวิตและคอกสัตว์เลี้ยง ตูบต่อเล้า เป็นเรือนชั่วคราวที่ยื่นออกมาจาก เล้าข้าวเป็นที่อยู่อาศัยของครอบครัวใหม่ที่แยกเรือน ออกจากเรือนของพ่อแม่แต่ยังไม่มีกำลังที่จะสร้าง เรือนใหม่หรือถ้าไม่มีผู้อาศัยก็ใช้เป็นสถานที่เก็บวัสดุ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ในวิถีชีวิต |
|
เรือนผู้ไทย เป็นรูปแบบเรือนของ “ชาวผู้ไท” ซึ่งเป็นกลุ่ม ชาติพันธุ์หนึ่งซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในภาคตะวันออกเฉียง เหนือมีลักษณะคล้ายคลึงกับเรือนโข่ง ต่างกันที่”ขื่อ และคาน” ของเรือนหลังเล็กจะฝากยึดติดกับโครงสร้าง ของเรือนใหญ่ เรือนผู้ไท เป็นที่จัดแสดงนิทรรศกา “ภูมิปัญญา ชาวลุ่มน้ำชี” |